RSS

Category Archives: THAI WASEDA

ภาพพิธีมอบรางวัลการประกวดวาดภาพระบายสี หัวข้อ ศูนย์วัฒนธรรมนานาชาติ วาเซดะ

โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นวาเซดะ จัดพิธิมอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศ
ผลการประกวดวาดภาพระบายสี ชิงทุนการศึกษาเรียนภาษาญี่ปุ่นกับวาเซดะ
เมื่อวันพุธที่ 12 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา โดยคุณศิริกุล ธนสารศิลป์ ผู้บริหาร
เป็นผู้มอบรางวัล


ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จำนวน 6 รางวัล


รางวัลชนะเลิศระดับประถมศึกษา
ด.ญ.จิดาภา  สุขสยามธนเดช
อายุ 7 ปี ชั้น ป.2 โรงเรียนราชินีบน กรุงเทพฯ


รางวัลชนะเลิศระดับประถมศึกษา
ด.ญ.สกุลวัฒณ์  วานิชย์โรจน์
อายุ 11 ปี  ชั้น ป.5/2 โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี


รางวัลชนะเลิศระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
น.ส.ชัชนี  วิจิตรโทร
อายุ 15 ปี ชั้น ม.3 โรงเรียนครูตู่ โฮมสคูล  กรุงเทพฯ


รางวัลชนะเลิศระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ด.ญ.ฟ้าใส  ไชยเทศ
อายุ 14 ปี ชั้น ม.3 โรงเรียนเซนต์ปอลคอนแวนต์  อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 


รางวัลชนะเลิศระดับมัธยมศึกษษตอนปลาย
น.ส.จริยา  เลิศล้ำ
อายุ 18 ปี ชั้น ม.6 โรงเรียนศรีราชา  อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี


รางวัลชนะเลิศระดับมัธยมศึกษษตอนปลาย
น.ส.ธันยพร  ทับมี
อายุ 17 ปี ชั้น ม.6 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา อ.เมือง จ.ชลบุรี


ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลทุกคนนะคะ

 

写真(しゃしん)

みなさんは写真(しゃしん)が好(す)きですか。
私(わたし)は写真(しゃしん)を撮(と)るのも好(す)きですが、
見(み)るのも好(す)きです。去年(きょねん)11月(がつ)
に日本(にほん)に帰(かえ)ったときに、自分(じぶん)の部屋を整理(せいり)
していたら、私(わたし)の昔(むかし)の写真(しゃしん)が出(で)てきて、
とてもなつかしい気持(きも)ちになりました。 
今回(こんかい)はみなさんに私(わたし)の昔(むかし)の写真(しゃしん)
を紹介(しょうかい)しようと思(おも)います。

上(うえ)の左(ひだり)の写真(しゃしん)は赤(あか)
ちゃんの時(とき)の写真(しゃしん)です。産(う)まれたときからとても大(おお)
きかったらしいです。上(うえ)の右(みぎ)の写真(しゃしん)は幼稚園(ようちえん)
の時(とき)です。毎晩(まいばん) 家族(かぞく)でトランプをして遊(あそ)んでいました。

上(うえ)の左(ひだり)の写真(しゃしん)は9歳(さい)の時(とき)です。
はじめて京都(きょうと)に行(い)きました。帽子(ぼうし)をかぶっているのが私(わたし)です。
隣(となり)は兄(あに)です。上(うえ)の右(みぎ)の写真(しゃしん)は14歳(さい)
の時(とき)です。合気道(あいきどう)を習(なら)っていました。私(わたし)は右(みぎ)です。
隣(となり)は兄(あに)です。



上(うえ)の左(ひだり)の写真(しゃしん)は18歳(さい)の時(とき)です。

変(へん)な顔(かお)をしているのが私(わたし)です。隣(となり)は兄(あに)です。
上(うえ)の右(みぎ)の写真(しゃしん)は23歳(さい)の時(とき)です。
サングラスをかけているのが私(わたし)です。隣(となり)は兄(あに)です。

(書いた人(ひと):荒井祐二)      

 
1 Comment

Posted by on 02/07/2012 in By Sensei, THAI WASEDA, Waseda News

 

กิจกรรมวัฒนธรรมญี่ปุ่นของนักเรียน Day Class @ Waseda Bangkok

วาเซดะ กรุงเทพฯ  จัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรม
ระหว่างวันที่ 13 – 16 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา 
เชิญชมภาพบรรยากาศกันเลยดีกว่าค่ะ


13 ธันวาคม : 「切り絵」กิจกรรมการตัดกระดาษเป็นรูปภาพต่างๆ
แต่ละคนประดิษฐ์กันสวยๆ ทั้งนั้นเลยนะคะ



14-15 ธันวาคม :「白玉」ทำขนม shiratama ก่อนอื่นต้องขอแนะนำสักเล็กน้อย
จริงๆ แล้วมันคือบัวลอยที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวนั่นเองค่ะ กินกับถั่วแดง
วิธีการทำง่ายมากเลยนะ เริ่มจาก นวดแป้งให้เหนียวแล้วปั้นเป็นลูกพอดีคำ
นำไปต้มแล้วแช่ในน้ำเย็นเท่านี้ก็ตักใส่ถ้วยราดถั่วแดงหรือจะเป็นผลไม้กระป๋องก็อร่อยค่ะ
เห็นแบบนี้แล้วชักจะอยากทานขึ้นมาแล้วสิ



16 ธันวาคม :「書道」กิจกรรมการเขียนพู่กัน  ฝีไม้ลายมือแต่ละคนนี่สุดยอดทั้งนั้นเลย
เรามาแอบดูกันดีกว่าค่ะว่าเหล่านักเรียนเขียนคำว่าอะไรกันบ้าง

 

เฮฮาสนุกสนานกันทุกๆ กิจกรรมเลยนะคะ
คราวหน้าวาเซดะจะจัดกิจกรรมสนุกๆ อะไรอีกต้องอดใจรอติดตามต่อไปนะ

 

Role Play Project Work by Day Class 1 – 2 : Term 3 / 2011

วาเซดะ จัดกิจกรรม Role Play Project Work โดยนักเรียนหลักสูตรกลางวันเร่งรัด
Day Class 1-วาเซดะกรุงเทพฯ และ ศรีราชา  ใช้ความรู้ที่เรียนมาตลอดทั้งเทอม 
จัดแสดงละครสั้นภาษาญี่ปุ่น     เมื่อวันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา

 

วันปฐมนิเทศนักเรียนหลักสูตร Day Class ประจำเทอมที่ 3 ปีการศึกษา 2544

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม เวลา 9.30น. โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นวาเซดะ กรุงเทพฯ
จัดพิธีปฐมนิเทศนักเรียน Day Course ภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2554 
ในภาคเรียนนี้มีนักเรียน Day Course 1-5 รวม 6 ห้อง จำนวนนักเรียน 85 คน
และอาจารย์ 17 คน  ค่ะ 

 
 

บรรยายพิเศษ “งานแปลและล่ามในบริษัทญี่ปุ่น” ณ ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์ ม.บูรพา


โรงเรียนสอนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นวาเซดะ ศรีราชา
จะจัดบรรยายพิเศษในหัวข้อ “งานแปลและล่ามในบริษัทญี่ปุ่น”
ให้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 3 และ 4 ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพาในวันพุธที่ 15 มิถุนายน 2554 ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป
* บรรยายเป็นภาษาญี่ปุ่น

วิทยากรโดย อาจารย์ชูอิชิ ทาคาฮาชิ
ผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัยวาเซดะ ประจำประเทศไทย

 

Shodo & Crepe’ with Day Class

นักเรียนหลักสูตรภาคกลางวันเร่งรัด โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นวาเซดะ (กรุงเทพฯ)
ร่วมกิจกรรมวัฒนธรรมประจำภาคเรียนที่ 2  เขียนพู่กันญี่ปุ่น และ ทำเครป
โดยนักเรียนและอาจารย์ ร่วมกันทำกิจกรรมสนุกๆเพื่อใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
(คลายเครียดด้วยนะ … ช่วงนี้เรียนหนักกันไปหน่อย  ฮ่าๆ)



 

フットサルチーム

タイ早稲田日本語学校(わせだにほんごがっこう)のシーラチャー校(こう)
のまえに、フットサル場(じょう)(Futsal court)ができました。

それで、タイ早稲田(わせだ)シーラチャー校(こう)
の先生とスタッフはフットサルチームを作(つく)りました!
ユニフォームも作(つく)りました! ボールも買いました!
試合(しあい)(game)に出て、シーラチャーでいちばん強(つよ)
いチームになります!

でも、まだ一度(いちど)も練習(れんしゅう)をしたことがないそうです・・・。がんばれ!!

(書(か)いた人(ひと):西川弘達(にしかわこうたつ))

 

 

 

Waseda Sriracha Diary : Bowling Together

พี่น้องชาววาเซดะศรีราชา จัดมหกรรมโบลิ่งต้อนรับน้องใหม่
และยืดเส้นยืดสายก่อนจะจัดตั้งทีมฟุตซอลล์ (เอ่อ …คาดว่าจะเริ่มในเร็ววัน)
การแข็งขันเป็นไปอย่างดุเดือดและเข้มข้น หาได้มีทีมใดยอมอ่อนข้อให้แก่กันไม่
เนื่องจากเดิมพันค่อนข้างซีเรียส ทีมใดแพ้อาจต้องเสียทรัพย์ในกระเป๋า

หลังจากจบกิจกรรมโบลิ่ง พวกเราจึงตระหนักว่า
ควรจะออกกำลังกายกันอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงนะคะ

 

節電(せつでん)ビズ

みなさん「節電(せつでん)」という言葉(ことば)を知(し)っていますか?
「節電(せつでん)」は「電気(でんき)を節約(せつやく)する」という意味(いみ)です。
日本(にほん)では2005年(ねん)の夏(なつ)に温室効果(おんしつこうか)ガスを
減(へ)らすため、“クール・ビズ(COOL・BIZ)”がスタートしました。“クール・ビズ”とは、
職場(しょくば)のエアコンの設定温度(せっていおんど)を28℃にし、その中(なか)
で快適(かいてき)に過(す)ごすためにいろいろな工夫(くふう)をすることです。
(例(たと)えば、スーツのジャケットを着(き)なくてもいい、
ネクタイをしなくてもいい、など)

今年(ことし)は福島県(ふくしまけん)にある原子力発電所
(げんしりょくはつでんじょ)で事故(じこ)が起(お)きたため、被災地(ひさいち)
の東北地方(とうほくちほう)を中心(ちゅうしん)に、電力(でんりょく)
がかなり不足(ふそく)しています。そこで、今(いま)まで以上(いじょう)
に電気(でんき)を節約(せつやく)しようと、“節電(せつでん)ビズ”という
言葉(ことば)が生(う)まれました。

東京証券取引所(とうきょうしょうけんとりひきじょ)ではワイシャツの代(か)
わりにポロシャツを着(き)てもいいそうです。職場(しょくば)だけではなく、
電車(でんしゃ)などでも今年(ことし)の夏(なつ)はエアコンの設定温度
(せっていおんど)を上(あ)げる予定(よてい)です。各家庭(かくかてい)でも、
「エアコンの代(か)わりに扇風機(せんぷうき)を使(つか)おう」「すだれやカーテン
を利用(りよう)しよう!」「家族(かぞく)はなるべく一(ひと)つの部屋(へや)
に集(あつ)まって、団(だん)らんを!」「夏休(なつやす)みは電力(でんりょく)
が不足(ふそく)していない西日本(にしにほん)に旅行(りょこう)に行(い)
こう!」などと呼(よ)びかけています。

タイは暑(あつ)いのに、建物(たてもの)や乗(の)り物(もの)の中(なか)
はエアコンが効(き)きすぎていて、寒(さむ)いですよね。ワセダも毎日(まいにち)
とても寒(さむ)いと思(おも)います。タイでもみんなで“節電(せつでん)
ビズ!”いかがでしょうか。           

(書(か)いた人(ひと):篠田(しのだ)あや)

 

フットサル場

こんにちは。わせだニュース@シーラチャーです。


この間(あいだ)、学校(がっこう)の近(ちか)くにフットサル場(じょう)(Futsal place)
ができました。コート(court)は全部(ぜんぶ)で2面(めん)あります。フットサルをし
ている人(ひと)はいませんでしたが、係員(かかりいん)のユットさんがコートの
鍵(かぎ)を開(あ)けてくれました。料金(りょうきん)(Charge)は、午前(ごぜん)
9時(じ)から午後(ごご)5時までは1時間(じかん)500B。午後(ごご)5時(じ)
から午前(ごぜん)0時(じ)までは1時間(じかん)800Bだそうです。

 最近(さいきん)、学校(がっこう)の近(ちか)くにはお店(みせ)が増(ふ)えました。
日本料理(にほんりょうり)のレストランもあります。

今(いま)まで韓国料理(かんこくりょうり)のレストランしかありませんでしたから、
私(わたし)は嬉(うれ)しかったです。

でも、行(い)ってみたらびっくりしました。メニュー(menu)が全部韓国語
(ぜんぶかんこくご)だったからです。

日本料理(にほんりょうり)のレストランですが、オーナー(owner)
は韓国人(かんこくじん)なんです。

(書(か)いた人(ひと):山崎正二(やまさきしょうじ))


 

เส้นทางการสอบวัดระดับ 2 ของ ภูษิต ตุ๋งคง (ดำ)

 

เรายังคงตามติดชีวิตของนักเรียนวาเซดะอย่างต่อเนื่อง  หากยังจำกันได้
เราเคยสัมภาษณ์คุณดำมาแล้วครั้งหนึ่ง  ตอนนั้นคุณดำกำลังเตรียมตัวสอบวัดระดับ 2
โดยยอมลงทุนลงแรง ลาออกจากงานประจำแล้วเข้ากรุงเพื่อมาเรียนที่วาเซดะ กรุงเทพฯ
เป็นระยะเวลา 1 ปีเต็มๆ

ความพยายามตลอด 1 ปีเต็ม กับการสอบวัดระดับ 2 ยังไม่สัมฤทธิ์ผล
เพราะคุณดำยังพลาดหวังจากการสอบวัดระดับเมื่อครั้งที่ผ่านมา
เรียกได้ว่า อกหักดังเป๊าะ (ดราม่าเล็กน้อย)

แต่จะดราม่าขนาดไหน เศร้าเสียใจขนาดไหน ก็ยังไม่ยอมแพ้
เพราะวันออกพรรษาไม่ได้มีหนเดียว วันวาเลนไทน์ไม่ได้มีหนเดียว
เฉกเช่นเดียวกับ การสอบวัดระดับก็ไม่ได้มีแค่หนเดียว

ดังนั้นแล้ว หลังจากพลาดท่าเสียที กับข้อสอบวัดระดับ 2 ที่ผ่านมา

คุณดำกลับมาตั้งหลักใหม่ กลับมาหางานทำที่บ้านเกิด
และแน่นอน  ภูษิต ตุ๋งคง  เขากลับมากู้ชีพของตัวเองอีกครั้ง
กับการเตรียมตัวสอบวัดระดับ 2 … ที่วาเซดะ ศรีราชา … อีกครั้ง

ตอนนี้ทำงานอะไรอยู่คะ

ก่อนอื่นก็ต้องขอสวัสดีพี่ๆ น้องๆ และเพื่อนๆ ทุกท่านก่อนนะครับ
หลังจากผมเรียนจบที่วาเซดะ กรุงเทพฯ  เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ปี 53
จากนั้นก็เริ่มออกหางานหาการทำตั้งแต่เดือนมกราคม 54 ครับ
ไปสัมภาษณ์อยู่ประมาณ 4 – 5 แห่งครับ ท้ายที่สุดก็มาสมัครกับ
บริษัทบางกอกอีสเทิร์นคอยล์เซ็นเตอร์ จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรม
อีสเทิร์นซีบอร์ด ( ระยอง ) สัมภาษณ์รอบแรกกับผู้จัดการฝ่ายโรงงาน
และคุณภาพกับผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล สัมภาษณ์รอบสอง
กับท่านประธานโรงงาน

ตื่นเต้นมากครับสำหรับการสัมภาษณ์งาน แต่คงเป็นเพราะทางวาเซดะ
มีหลักสูตรการสอนที่ดีมากครับ สามารถฟังและตอบคำถามได้อย่างเข้าใจ
หมดทุกคำถาม และได้เริ่มงานกับบริษัทบางกอกอีสเทิร์นคอยล์เซ็นเตอร์ จำกัด
ในตำแหน่ง Customer Service & Quality Control & Interpreter
( Quality Control Department ) ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
เป็นต้นมาครับ

งานที่ทำอยู่ได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นอย่างเต็มทีหรือเปล่าคะ

เนื่องจากต้องออกไปพบปะหรือร่วมประชุมหารือกับลูกค้าในเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพของงาน
ซึ่งในบางครั้งก็ไปกับเจ้านายญี่ปุ่นด้วยก็จะทำหน้าที่ในการแปลในที่ประชุม
( แปลไทยเป็นญี่ปุ่น และแปลญี่ปุ่นเป็นไทย ) หรือบางครั้งถ้าเจ้านายไปได้ไปด้วยก็จะต้อง
นำผลการประชุมมาจัดทำรายงานการประชุมเพื่อเสนอต่อเจ้านายญี่ปุ่น  การใช้ภาษาญี่ปุ่น
ในการทำงานก็มีโอกาสได้ใช้ครับแต่ก็ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะที่บริษัทฯ
มีพนักงานที่พูดภาษาญี่ปุ่นได้ ( ล่าม ) จำนวน 2 คน เมื่อนับผมไปได้ด้วยก็เท่ากับ 3 คน
ก็เลยไม่ได้ใช้เต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์สักเท่าไหร่ครับ

ขออนุญาตถามถึงสถิติในการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นของคุณดำ
ในระดับ 2 หรือ
N2  ไม่ทราบว่า ผ่านสมรภูมิการสอบมาแล้วกี่ครั้ง
(ถามให้ปวดใจทำไมเนี่ย …)

อายจังครับสำหรับคำถามนี้  อิอิ  ผมเคยเข้าสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น ระดับ 2 ( แบบเก่า )
มาแล้วจำนวน 2 ครั้งครับ เมื่อปี พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552 ก็ยังไม่ผ่านสักที
ก็เลยตัดสินใจลาออกจากกงานเพื่อที่จะมุ่งเน้นกับการเรียนอย่างจริงจังที่วาเซดะ กรุงเทพฯ
โดยเริ่มเรียนตั้งแต่ เดือนเมษายน ปี 53 เป็นต้นมา ซึ่งในระหว่างนั้นก็สอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น
ระดับ N3 ( แบบใหม่ ) ประสบความสำเร็จในการสอบครับ ผ่านฉลุย  และท้ายสุดคือการเข้าสอบ
วัดระดับภาษาญี่ปุ่น ระดับ N2 ( ถือว่าเทียบเท่ากับระดับ 2 แบบเก่า ) เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ปี 53
แฮะๆๆๆๆ ไม่ผ่านครับ สอบตก อิอิ ตอนนั้นเสียใจมากเลยครับ

แต่ไม่เป็นไรครับความรู้อยู่กับตัวเรา ยังมีโอกาสสอบอีกตั้งมากมาย ปีนี้เอาใหม่
ไม่ยอมแพ้หรอกนะ  ตอนนี้ก็กำลังเรียนติวสอบวัดระดับอยู่ที่วาเซดะ ศรีราชาอยู่ครับ
ในใจคิดว่ายังไงต้องทำให้ได้  ยังไงก็ไม่ยอมแพ้แน่ๆ  (เอ๊า  ปรบมือออออ)


เราติดตามชีวิตการเรียนภาษาญี่ปุ่นของคุณดำมานาน ( เป็นปี )
เห็นว่าคุณดำมีความเพียรและพยายามเป็นอย่างมาก มันมีแรงจูงใจ
หรือ แรงบันดาลใจที่ลุกขึ้นมาต่อสู้กับสิ่งที่คิดว่า

” มันยากจัง … จะไหวไหม “

ผมคิดว่า คนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะเป็นคนดีได้ หรือ คนเราเลือกเกิดไม่ได้
แต่สามารถเลือกหรือกำหนดเส้นทางชีวิตของตนเองได้นะครับ ผมคิดแบบนี้อยู่บ่อยๆครับ
ดังนั้นผมจะคิดและวางแผนในการดำเนินชีวิตของผมเอง เช่นการเรียนภาษาญี่ปุ่น
ตอนแรกที่เรียนผมยอมรับครับ ว่าเคยโยนหนังสือทิ้งเลยก็มี มันรู้สึกว่ายากมากมาย
ทำใมมันยากอย่างนี้ ไม่เรียนแล้ว

แต่ในเมื่อเรามีแผนและดำเนินการตามแผนแล้ว  จ่ายเงินค่าเรียนไปแล้วด้วย
เราจะล้มเลิกไปง่ายๆนั้น ไม่ได้ครับ ต้องอดทน ต้องพยายาม มันไม่มีอะไรที่ยากเกิน
ความสามารถของคนไปได้หรอกครับ ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีอุปสรรค
แต่ภายในอุปสรรคนั้นมันก็มีแสงสว่างและทางออกของมัน ขึ้นอยู่ว่าเราจะอดทน
และค้นหาแสงสว่างหรือทางออกของตัวเองเจอหรือเปล่า

สำคัญที่สุดก็คือ ไม่มีอะไรยากหรือเป็นไปไม่ได้ถ้าคนเราหรือมนุษย์เรายังคงมี
ความเพียรพยายามและมุ่งมั่นอยู่น่ะครับ  เวลาเจออุปสรรคหรือปัญหามันก็มีบ้างที่เหนื่อย
ล้า หรือ ท้อแท้ ท้อแท้ได้นะครับแต่ห้ามท้อถอย สู้ๆๆ ครับ

เป้าหมายในการเรียนภาษาญี่ปุ่น

เป้าหมายสูงสุดในการเรียนภาษาญี่ปุ่นของผม ณ ตอนนี้ คือ
การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น ระดับ N2 ผ่านให้ได้ก่อนนะครับ
และก็จะพยายามหาเวลาเรียนและหาความรู้เพิ่มเติมอีกนะครับ
ในอนาคตถามว่าจะมุ่งมั่นที่จะให้ได้ระดับ N1 เลยไหม
ตอนนี้ผมยังไม่ได้ตั้งเป้าหมายไปถึงขนาดนั้นหรอกครับ
คงจะต้องขอทำเป้าหมายปัจจุบัน ( การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น ระดับ N2 )
ให้สำเร็จก่อนครับ

ฝากอะไรถึงคนที่กำลังเตรียมตัวสอบวัดระดับเหมือนคุณดำ

ขอให้ทุกๆคนที่กำลังเตรียมตัวสอบวัดระดับอยู่เหมือนกันกับผม
ไม่ว่าจะเป็นการสอบวัดระดับใดก็ตาม อย่างไงก็ขอให้ทุกๆคน
พยายามทำอย่างสุดความสามารถครับ ไม่ว่าผลสอบออกมาจะเป็นอย่างไรก็ตาม
( แน่นอนเราทุกๆท่านก็คาดหวังที่จะผ่านให้ได้ )
ยังไงก็ขออย่าได้ยอมแพ้นะครับ

มาครับ เรามาพยายามด้วยกัน

 

รายการโทรทัศน์สัมภาษณ์นักศึกษา ม.วาเซดะ อภินรา ศรีกาญจนา

รายการ Station of Life  สัมภาษณ์ อภินรา  ศรีกาญจนา (มะปราง)
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์นานาชาติ  มหาวิทยาลัยวาเซดะ
ที่โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นวาเซดะ ค่ะ

มะปรางได้เล่าถึงการเรียนที่วาเซดะและการใช้ชีวิตในประเทศญี่ปุ่นไว้อย่างน่าสนใจ
พร้อมทั้งคำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการสอบเข้ามหาวิทยาลัยวาเซดะหรือไปเรียนที่ญี่ปุ่น

ติดตามชมได้ในรายการ Station of Life ช่อง TNN2 (True Visions)  
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคมนี้ เวลา 14.00น. นะคะ

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับคณะศิลปะศาสตร์นานาชาติ  มหาวิทยาลัยวาเซดะ
http://www.waseda.jp/sils/en/

 

พี่หมีวาเซดะ ปะทะ ดราก้อนบอลล์แก๊งค์

โรงเรียนสอนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นวาเซดะ ศรีราชา
เข้าร่วมกิจกรรมสนุกๆในงาน Cosplay & Comics Party
ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า ชลบุรี ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2554

โดยพวกเราได้ไปจัดกิจกรรม Hanko Workshop (แกะตราประทับยางลบ)
และกิจกรรมบนเวที สาธิตการพับผ้าฟุโรชิกิและตอบคำถามชิงรางวัลจากวาเซดะ

ขอบคุณศิษย์เก่า และนักเรียนทุกคน รวมทั้งผู้ปกครองที่แวะเวียนไปทักทายที่บูธวาเซดะนะคะ
ดีใจที่ได้เจอทุกคน  ไว้โอกาสหน้ามาเจอกันใหม่ค่ะ  ช่วงนี้พี่หมีเขาเดินสายทั่วเมืองชล


พี่หมีวาเซดะ ทักทายเด็กๆ (ขวัญใจสาวๆด้วยนะ)


สาธิตการพับผ้าฟุโรชิกิ โดย อาจารย์ยูโกะ โตยะมะ


กิจกรรม Workshop – แกะยางลบตราประทับ 消しゴムはんこ

 

Cosplay & Comic Party @ Central Plaza Chonburi

วาเซดะ ศรีราชา จะไปร่วมกิจกรรม Cosplay & Comic Party
พบกับ Cosplay ชื่อดังจากประเทศญี่ปุ่นและการรวมตัวของ Cosplay ที่มากที่สุดในประเทศ
รวมทั้งโชว์ตัวการ์ตูน Dragonball Z และอุลตร้าแมนเมบิอุส พร้อมทั้งกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย
ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2544
บริเวณลานกิจกรรมชั้น 1 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ชลบุรี  

 

私の辞書


私は4年10ヶ月前に初めてタイに来ました。そのときは、まだ大学生で、
バンコクのある大学で日本語教育の実習をしていました。
毎日が大変で、
寝る時間もあまりありませんでしたが、
実習を通して日本語を教えることの
楽しさを知ることができました
。それと同時に、タイやタイ人のことも好きに
なりました。
私がタイ語を勉強しようと思ったのは、このときです。

日本に帰国してタイ語の辞書を買おうと思いました。いろいろと探しましたが、
私が買ったのはこの辞書です。
高かったですが、これで良かったと思っています。



それから、タイ語のテキストも買いました。でも、
実は日本ではほとんど
勉強していません。勉強を始めたのは、
タイに来てからです。私は英語が
あまり分かりませんし、
タイ人とコミュニケーションがとれないからです。
毎日勉強しました。


今、私はタイ早稲田日本語学校で働いています。毎日、
日本語を勉強しています。

タイ語の勉強はもうやめてしまいましたが、この辞書は私の大切なものです。

この辞書を見ると、いろいろなタイ人の友達の顔を思い出します。日本語教育と、
タイ語学習が私とタイを繋げてくれました。言葉を勉強するのは大変ですが、
素晴らしいことだと思います。

ผมมาเมืองไทยครั้งแรกในเดือนตุลาคมเมื่อ 4 ปีก่อน
ตอนนั้นกำลังฝึกงานเกี่ยวกับการสอนภาษาญี่ปุ่น ที่มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ
โดยที่ขณะนั้นผมยังเป็นนักศึกษาอยู่  การดำเนินชีวิตประจำวันค่อนข้างจะลำบาก
เวลานอนก็ไม่ค่อยจะมี แต่ว่าก็ได้รู้ถึงความสนุกของการสอนภาษาญี่ปุ่นตั้งแต่ต้น
จนจบการฝึกงาน  ในเวลาเดียวกันนั้น กลับกลายเป็นว่าผมเริ่มชอบสิ่งต่างๆ
ที่เกี่ยวกับประเทศไทยและคนไทย ผมก็เลยคิดว่า
จะพยายามเรียนภาษาไทยตั้งแต่ตอนนั้น

ตอนที่จะกลับญี่ปุ่นผมตั้งใจว่าจะซื้อพจนานุกรมภาษาไทยและสิ่งอื่นๆด้วย
แต่สิ่งที่ผมซื้อก็คือพจนานุกรม ราคาของพจนานุกรมไทย-ญี่ปุ่น มีราคาแพงมาก
แต่ผมคิดว่าเป็นหนังสือที่ดี หลังจากนั้น ก็ซื้อตำราเรียนที่เป็นภาษาไทยด้วย
แต่ว่า ความจริงแล้วที่ญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่มีเรียนภาษาไทย
ดังนั้นก็เลยเริ่มเรียนหลังจากกลับมาที่ประเทศไทยแล้ว ผมไม่ค่อยเข้าใจภาษาอังกฤษ
และสื่อสารกับคนไทยไม่ได้ จึงต้องเรียนภาษาไทยทุกวัน

ตอนนี้ ผมทำงานอยู่ที่โรงเรียนสอนภาษาและวัฒนธรรมภาษาญี่ปุ่น วาเซดะ ศรีราชา
ซึ่งทุกวันๆจะมีการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น ส่วนการเรียนภาษาไทยแม้ว่าจะเลิกไปแล้ว
แต่พจนานุกรมเล่มนี้ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผมอยู่ เวลาที่ผมมองพจนานุกรมเล่มนี้แล้ว
มันทำให้ผมคิดถึงใบหน้าและเรื่องราวต่างๆ ของเพื่อนๆ ที่เป็นคนไทย
การฝึกฝนภาษาไทยกับการสอนภาษาญี่ปุ่น ทำให้ผมผูกผันกับประเทศไทย
การเรียนคำศัพท์แม้ว่าจะลำบาก แต่ผมก็คิดว่ามันวิเศษ

เขียนโดย อาจารย์โชจิ ยามาซากิ

 

Waseda Sriracha Diary : ตลาดสดๆ และ สะพานปลาสดๆ

ที่ศรีราชา มีตลาดสดที่พวกเรามักจะไปจ่ายตลาดเพื่อซื้อวัตถุดิบมาทำอาหารรับประทานกันที่โรงเรียน
เป็นตลาดที่เดินแล้วสนุกๆมาก เพราะมีทั้งของกินของใช้ในราคาที่ถูกกว่าซื้อในซุปเปอร์มาร์เก็ต
โดยเฉพาะอาหารทะเล กุ้ง หอย ปู ปลา มีเยอะแยะมากมายและราคาย่อมเยาว์มากๆค่ะ


เวลาที่เหมาะแก่การมาเดินตลาด แน่นอนว่าต้องเป็นตอนเช้าๆ
เพราะสินค้าจะสดใหม่ และมีให้เลือกเยอะมากกว่าเวลาอื่น
ดังนั้น ในเวลาเช้าๆ ที่นี่จะคึกคักและมีสีสันเป็นพิเศษ
วันไหนที่พอมีเวลาว่างและตื่นเช้า พวกเราก็จะแวะมาหาของอร่อยๆกันที่ตลาดแห่งนี้ค่ะ

ใกล้กับตลาดสดศรีราชา จะมีสะพานปลาที่เป็นจุดสำหรับชาวประมงนำ “ซีฟูดส์”
จากอวนชาวประมงเพื่อขนถ่ายสินค้าจากท้องทะเล
ช่วงเวลาตั้งแต่ตีสี่จนฟ้าสาง ที่นี่จะค่อนข้างจอแจชุลมุนวุ่นวาย
เพราะจะมีร้านค้าปลานำรถมารอรับสินค้าสดๆค่ะ

พอบ่ายๆเย็นๆก็จะมีกลุ่มนักตกปลา มานั่งตกปลากันแบบสบายใจ
อากาศดี มีรถเข็น รวมทั้งซุ้มน้ำดื่ม และอาหารขายด้วยนะคะ

แวะมาเที่ยวกันได้ค่ะ … ^_^

 

วาเซดะศรีราชา ออนทัวร์กับครอบครัวไทยออยล์

Waseda Sriracha on Tour @ ThaiOil

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน
พวกเราไปเยือนชาวไทยออยล์มากันค่ะ

กิจกรรมในครั้งนี้ ชาววาเซดะศรีราชา  นำการพับกระดาษโอริกามิ
และ Paper Craft ไปร่วมสนุกกับน้องๆและครอบครัวชาวไทยออยล์
ณ สโมสรไทยออยล์ ศรีราชา จ.ชลบุรี ในงาน “เรียนรู้กับลูก”
ตั้งแต่เวลา 9.30 – 12.00 น.

จากนี้พวกเราจะไปออนทัวร์ที่ไหนกันต่อ  โปรดติดตาม …

 

わたしが好きなお店

私(わたし)が大好(だいす)きな店(みせ)を紹介(しょうかい)します。


この店(みせ)はエカマイにある“サバイジャイガイヤーン(サバイジャイゲッタワン)”
というタイ料理(りょうり)レストランです。

ここの名物(めいぶつ)はこの店(みせ)の名前(なまえ)にあるガイヤーンです。

私(わたし)が今(いま)まで食(た)べたガイヤーンの中(なか)で一番(いちばん)
おいしいと思(おも)います。それから、この店(みせ)のいいところは、料理(りょうり)
を注文(ちゅうもん)したら、すぐに作(つく)って持(も)ってきてくれるところです。
とてもお腹(なか)が空(す)いていても、あまり待(ま)たずに食(た)べられます。
今週(こんしゅう)も行(い)きました。もちろんガイヤーンを食(た)べました。
それから、ソムタムやチムチュム(イサーンの鍋(なべ))などたくさん食(た)べました。


どれもおいしいのでいつも食(た)べすぎてしまいます。
ここのガイヤーンはかくし味(あじ)があるはずです。何(なん)でしょう?
とても知(し)りたいです。それから、ここは日本人
(にほんじん)の客(きゃく)がとても多(おお)いです。

いつも客(きゃく)の半分(はんぶん)ぐらいが日本人(にほんじん)です。

 もし、みなさんが日本人(にほんじん)にバンコクを案内(あんない)
することがあったら、この店(みせ)に連(つ)れて行(い)ってあげたらいいと
思います。気(き)に入(い)ると思(おも)いますよ。

それから、この人(ひと)もこの店(みせ)が大好(だいす)きです。私(わたし)
の主人(しゅじん)・・・じゃありませんよ。

(書(か)いた人(ひと):田中(たなか) 瑠衣子(るいこ))    

 

Waseda Sriracha Diary : Day Class 1 ที่วาเซดะศรีราชา เริ่มแล้วนะ ^__^



สามอาจารย์ แห่งวาเซดะศรีราชา

อาจารย์ยามาซากิ   อาจารย์ซาคาโมโตะ  และ อาจารย์โตโยมะ
ประจำการพร้อมแล้ว สำหรับการสอนหลักสูตรกลางวันเร่งรัด หรือ Day Class 1
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2554 (หลักสูตรเมษายน – กรกฎาคม)

บรรยากาศการเรียนการสอนเป็นไปอย่างอบอุ่น
ถึงแม้นักเรียนในห้องจะจำนวนน้อย เนื่องจากเป็น Day Class แรกของวาเซดะศรีราชา
แต่นักเรียนทุกคนก็ดูสนุกสนานกับการเรียน บรรยากาศในห้องเรียนค่อนข้างเป็นกันเองเลยทีเดียว

 

クレット島(kho kret)へ行ってきました。

先々週(せんせんしゅう)の日曜日(にちようび)、友(とも)だちとクレット島(とう)(kho kret)
へ行(い)ってきました。朝(あさ)、体(からだ)のちょうしが悪(わる)かったので午後から
車で行(い)きました。 クレット島(とう)は、チャオプラヤー川(がわ)にある島(しま)です。
その島(しま)へ行(い)く小(ちい)さな港(みなと)(port)までバンコクから車(くるま)
で一時間(いちじかん)ぐらい

かかりました。クレット島(とう)には、たくさんお寺(てら)がありました。
わたしは、お寺(てら)で「体(からだ)のちょうしが良(よ)くなりますように。」と
お願(ねが)い(pray)しました。そして、大(おお)きな鳥(とり)を見(み)たり、レスト
ランで食(しょく)じをしたりしました。お寺(てら)とお寺(てら)の間(あいだ)には、小(ちい)さな
店(みせ)がたくさんあり、いろいろなタイのおかしを売(う)っていました。わたしは、
たくさんタイのおかしを買(か)って食(た)べました。

甘(あま)くておいしかったです。夕方(ゆうがた)、暗(くら)くなったのでうちへ帰(かえ)りました。
うちに帰(かえ)ると体(からだ)のちょうしは良(よ)くなっていました。お寺(てら)
でたくさんお願(ねが)いしたからだと思(おも)います。みなさんもお願(ねが)
いしたいことがあったら、ぜひ行(い)ってみてください。

(書(か)いた人(ひと):黒田 実)

 

ขบวนการ Paper Craft ตัดๆๆๆแปะๆๆๆ

วาเซดะศรีราชา จะยกขบวน ชวนกันไปร่วมขบวนการตัดๆๆๆๆๆ แปะๆๆๆๆๆ Paper Craft
ในกิจกรรม “ เรียนรู้กับลูก”  ณ อาคารสโมสรไทยออยล์ บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

ในวันเสาร์ที่ 23 เมษายน นี้
โดยจะเริ่มพิธีตัดๆๆๆๆ แปะๆๆๆๆ ตั้งแต่เวลา 9.00-11.30 น.

ชาวไทยออยล์เตรียมตัวมาพบกันนะคะ ^____^

 

Waseda Sriracha Diary : บันทึกความทรงจำ และ พิธีมอบประกาศนียบัตร Japanese Fun Course @ Sriracha

 

Waseda Sriracha Diary : กิจกรรมสนุกๆนอกห้องเรียน Japanese Fun Course @ Sriracha

Japanese Fun Course @ Sriracha
หลังจากชั่วโมงเรียนภาษาญี่ปุ่นจบลงในแต่ละวัน

พวกเราทำอะไรกันบ้าง … ตามมาดูกันเลยค่า


ทาโกะยากิ … ไม่คิดว่ามันจะทำง่ายอย่างงี๊
.
.
.

ตามมาด้วย ปั้นแป้งโมจิ เหนียบหนึบๆ กินคู่กับถั่วแดงกวน


ของหวานก็ต้องเป็น … เครปกล้วยหอม ช็อกโกแล๊ต

ปั้นดินญี่ปุ่น … เมืองในฝันของฉัน

ปิดท้ายด้วย กิจกรรมนอกสถานที่ สร้างสรรค์งานศิลปะในสวน



กระโดดสลายไขมันกันหน่อย ! ….


 

Waseda Sriracha Diary : ความทรงจำดีๆของฉัน ในวันปิดเทอมฤดูร้อน

こんにちは。 สวัสดีทุกๆคน
ติ๊กเองค่ะ ขอรายงานภาพบรรยากาศสนุกๆจากกิจกรรม Japanese Fun Course ณ วาเซดะศรีราชา


ตอนนี้กิจกรรมเริ่มมาได้ 5 วันเต็มๆแล้ว (มาถึงครึ่งทางแล้วนะ)

บรรยากาศการเรียนภาษาญี่ปุ่นก็ดำเนินไปอย่าง เจ้ม-จ้น
น้องๆและอาจารย์ รวมทั้งพี่ๆสต๊าฟก็เริ่มจะสนิทสนมกัน
ทำให้บรรยากาศของการเรียนและการทำกิจกรรมวัฒนธรรม เป็นไปอย่างสนุกสนาน

วันนี้เก็บภาพบางส่วนมาให้ชมกัน …

ขอแนะนำอาจารย์ผู้สอนก่อนนะคะ  มีจำนวน 2 ห้องเรียน
แบ่งเป็นห้องเรียนของน้องๆที่ไม่มีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่น และ ห้องเรียนที่มีพื้นฐาน


อาจารย์ยูจิ  อะราอิ


อาจารย์โชจิ ยามาซากิ


พร้อมลุย !


ทบทวนบทเรียน เรื่อง วัน / เดือน / ปี


วันนี้ … สีอะไร ?


อาจารย์อะราอิสู้ตาย !


สนุกมากๆจ้า


ผมจะต้องพูดภาษาญี่ปุ่นให้ได้ครับ … ไฟโต่ะ !


มิน กับ เฟิร์น


คอปเต้อร์ กับ อั๊ม


ปาล์ม


เฟิร์น และ พี่น้ำ


เกมส์การสนทนาภาษาญี่ปุ่น … การทักทาย


เกมส์จำคำศัพท์


ทุกคนขี้อายมากๆ


เดียร์ – นักเรียนทุนจากโครงการประกวดเรียงความ ประเทศญี่ปุ่นในความคิดของฉัน


อั๊มครับ … ผมเป็นหนุ่มหล่อเข้มครับ (มาพร้อมรอยยิ้มกระชากใจและเขี้ยวมหาเสน่ห์)


พี่ๆขอปรบมือให้กับความตั้งใจของปาล์ม


เด็กหญิงจูน


เอ้า … ช่วยกัน


My face(book)


ประลองยุทธ์


โอริกามิ


ฉันคือ หมู … อู๊ดๆ อ๊อดๆ


ผมทำเองกับมือเลยนะเนี่ย


ชักจะ งง ๆ


โชว์ผลงานกันหน่อย


ยืดเส้นยืดสาย หลังเลิกเรียน ทุกๆเย็นก่อนกลับบ้าน


ยาฮู๊ววว์


โว่ๆ โย่ๆ


WASEDA ‘s BAND


หนุ่มน้อย … พี กับ ฮ๊อค


สาวน้อย … ปาย กับ แนน


ย๊ากซ์ !


สู้ตายค่ะ !


Happy Cafe มาช่วยกันอุดหนุนหน่อยนะคะ


หนุ่มๆกำลังจะทำเครื่องบินล่ะนะ !


เครื่องบินหนูบินไม่ขึ้นง่ะ … แงๆ (นอนดีกว่า)


สักวันผมจะบินครับ


เอ้า … บินจริงๆล่ะนะ


นี่คือความทรงจำที่ดี ในวันปิดเทอมฤดูร้อน (ที่แอบหนาว)

โปรดติดตามตอนต่อไป … ยังเหลืออีก 5 วัน

 

HANUMANハヌマーン

このバンド(ばんど)(band)を知(し)っていますか。
バンド( )の名前(なまえ)は「HANUMAN」(ハヌマーン)です。

ハヌマーンといえば、タイの仮面劇(かめんげき)(โขน)に出(で)てくる、さるのことですよね。
ですから、みなさんはこのバンドはタイのバンドだと思(おも)うかもしれません。
でも、このバンドは日本(にほん)のバンドです。メンバーはみんな日本人(にほんじん)です。
HANUMANは最近(さいきん)、タイで紹介(しょうかい)されて、人気(にんき)が出(で)てきました。
その理由(りゆう)のひとつは、HANUMANが、タイの有名(ゆうめい)なバンドの音楽(おんがく)
を演奏(えんそう)しているからです。もちろんタイ語(ご)で歌(うた)います。たとえば、
Silly Foolsや NO LOGOや Bodyslamなどの音楽(おんがく)です。HANUMANは今度、
タイのレコード会社GRAMMYからCDを出すかもしれないそうです。

HANUMANは去年(きょねん)、タイでコンサートをしました。タイ人(じん)のお客(きゃく)
さんがたくさんいて、一緒(いっしょ)に歌(うた)を歌(うた)ってくれて、とてもうれしかったそうです。
それから、タイのテレビにも出(で)ました。HANUMANのメンバーはみんなタイが大好(だいす)
きだそうですから、またタイでコンサートをするかもしれません。そのときは、みなさん、
ぜひ見(み)に行(い)ってみてくださいね。

(書(か)いた人(ひと):今満(いまみつ) 真子(まさこ))

ทุกๆคนรู้จักวงดนตรีวงนี้กันไหม ?

ชื่อของวงดนตรีนี้คือ “หนุมาน” ค่ะ 

ถ้าพูดถึงหนุมาน ก็คงจะนึกถึงลิงที่เป็นตัวละครในการแสดงโขนของไทย
แบบนี้ก็อาจจะคิดว่าวงดนตรีวงนี้เป็นวงดนตรีของคนไทยก็เป็นได้
แต่ว่า วงดนตรีวงนี้เป็นวงญี่ปุ่น  สมาชิกในวงทุกคนล้วนเป็นคนญี่ปุ่นค่ะ

ตอนนี้วงหนุมานได้ถูกแนะนำและได้ความรับนิยมมากในประเทศไทย
เหตุผลข้อหนึ่งที่ทำให้ได้รับความนิยมนั้นก็คือวงหนุมานจะเล่นเพลงของวงดนตรีที่มีชื่อเสียงของไทย
ซึ่งก็ต้องแน่นอนว่าต้องร้องเพลงเป็นภาษาไทยค่ะ อย่างเช่นเพลงของ ซิลลี่ฟูล โนโลโก้ บอดี้สแลม
ได้ข่าวมาว่าวงหนุมานอาจจะออกผลงานซีดีกับบริษัทแกรมมี่ด้วยนะ

เมื่อปีที่แล้ว วงหนุมานก็ได้เล่นคอนเสิร์ตที่เมืองไทย
ซึ่งก็มีแฟนๆชาวไทยไปชมและร่วมร้องเพลงด้วยกันเป็นจำนวนมาก
ทำให้พวกเค้าดีใจมากเลยค่ะ จากนั้นก็ยังได้ออกทีวีของไทยด้วย

สมาชิกวงหนุมานต่างชื่นชอบแฟนๆชาวไทยมาก
พวกเขาอาจจะกลับมาเล่นคอนเสิร์ตที่ประเทศไทยอีก
เมื่อถึงตอนนั้น ทุกๆคนอย่าลืมไปชมกันให้ได้นะคะ

เขียนโดย อาจารย์อิมะมิทซึ มะซะโคะ

แปลโดย อรพินท์ ปทุมมณีสุข นักเรียนหลักสูตรภาคค่ำ

 

Waseda Sriracha Diary : Summer Workshop 2011 – Furoshiki




วาเซดะ ขอขอบคุณชาวจังหวัดชลบุรี ที่มาร่วมสนุกกับกิจกรรมสร้างสรรค์
Furoshiki Workshop

ผูกผ้าหลากหลายรูปแบบโดยใช้ผ้าเพียงผืนเดียวในการสร้างสรรค์การห่อ – พัน – พับ – ผูก

โดยกิจกรรมนี้ พวกเราชาววาเซดะศรีราชา ยกพลกันไปปักหลักสอน
ณ ห้างแปซิฟิกพาร์ค (โรบินสัน ศรีราชา) และ เซ็นทรัลพลาซ่า สาขาชลบุรี
ระหว่างวันที่ 12 – 20 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมาค่ะ

ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น และต้องขอบคุณทุกๆคน
ที่เข้ามาสอบถามเกี่ยวกับกิจกรรมและหลักสูตรภาษาญี่ปุ่น

เอาไว้โอกาสหน้า พวกเราจะมีกิจกรรมสนุกๆอะไรอีก
โปรดติดตามข่าวสารได้จากหน้าเว็บไซต์และเว็บบล็อกของโรงเรียนนะคะ

じゃあ - – – またね!

 

ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ต่อผู้ประสบภัยสึนามิและแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น

โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นวาเซดะ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง
ต่อผู้ประสบภัยสึนามิและแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น   โรงเรียน ฯ หวังว่าเป็นอย่างยิ่งว่า
พื้นที่ประสบภัยจะได้รับการฟื้นฟูในเร็ววัน  และขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองให้ผู้ประสบภัย
ปราศจากโรคภัยและเหตุร้ายทั้งปวง

อาจารย์  เจ้าหน้าที่ และนักเรียน  โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นวาเซดะ

このたびの「東北関東大震災」におきまして、被害にあわれた皆さ
まに心よりお見舞い申し上げるとともに、犠牲になられた方々とご
遺族の皆さまに対し、衷心よりお悔みを申し上げます。

被災地におかれましては、一日も早く安全、安心を回復してい
ただけますよう、

皆さまのご無事とご健康を心よりお祈り申し上げます。

タイ早稲田日本語学校

教職員・学生一同

ติดตามข่าวสารสึนามิและแผ่นดินไหวประเทศญี่ปุ่น
คลิกเพื่อเข้าสู่ https://wasedaclub.wordpress.com

ขอเชิญร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่น
ผ่านกระทรวงการต่างประเทศ

ธนาคารกรุงไทย สาขาสามยอด
ชื่อบัญชี : เงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่น เลขที่บัญชี 002 0 271 468

 
 

ชมรมวิ่งวาเซดะ わせだジョギングクラブ

เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว อาจารย์ทะนะกะได้ริเริ่มก่อตั้งชมรมวิ่งของวาเซดะขึ้นมาค่ะ
ณ ตอนนี้มีสมาชิกที่เข้าร่วมชมรม  ได้แก่ อาจารย์ทะนะกะ และ อาจารย์อะระอิ

ทุกๆ เช้าวันอาทิตย์ตั้งแต่ 6 โมงครึ่งเป็นต้นไป เหล่าบรรดาอาจารย์สมาชิกชมรมวิ่ง
จะไปวิ่งออกกำลังกายกันที่สวนลุมพินี เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ

ในฐานะที่อาจารย์อะระอิเคยสร้างผลงานเป็นนักกีฬาไตรกีฬาที่ญี่ปุ่นมาก่อน
จึงได้สอนอะไรต่างๆมากมายให้แก่ฉัน  อย่างเช่นวิธีการยืดเส้นยืดสาย วิธีการวิ่ง
เป็นเพราะสิ่งที่อาจารย์อะราอิที่ช่วยสอนไว้แท้ๆ จึงทำให้ฉันไม่มีอาการบาดเจ็บใดๆ
และสามารถวิ่งได้เร็วกว่าปีที่แล้วด้วย

ในระหว่างที่วิ่งไป  พวกเราก็ชมความงามยามเช้าของวันใหม่ไป   เป็นความรู้สึกที่ดีมากๆนะคะ
นอกจากนี้แล้วที่สวนลุมพินีก็ยังมีผู้คนมากมายและมีสัตว์อยู่ด้วยจึงเพลิดเพลินมากค่ะ

แต่สิ่งที่ประหลาดใจที่สุดก็คือ ตัวตะกวด  ซึ่งตัวใหญ่มากๆ
ฉันไม่เคยเห็นที่ญี่ปุ่นเลย ตกใจมากๆ เลยล่ะค่ะ

ปีนี้ ฉันคิดว่าอยากจะเข้าร่วมแข่งขันวิ่งมาราธอน
ถ้าพวกเรามีใครที่สนใจล่ะก็ โปรดช่วยแจ้งฉันด้วยนะคะ

ไปร่วมวิ่งด้วยกันเถอะค่ะ !

ผู้ขียน : อาจารย์ยามะดะ อะคิโกะ
แปลโดย :คุณอรพินท์  ปทุมมณีสุข (อ้อย) นักเรียนหลักสูตรภาคค่ำ

わせだジョギングクラブ
去年(きょねん)の12月(がつ)に田中先生(たなかせんせい)

とわせだジョギングクラブを作(つく)りました!

今、このクラブに入(はい)っているのは、田中先生(たなかせんせい)
と荒井先生(あらいせんせい)です。

健康(けんこう)のために、毎週日曜日(まいしゅうにちようび)の朝(あさ)
6時半(じはん)からルンピニー公園(こうえん)を走(はし)っています。

荒井先生(あらいせんせい)は日本(にほん)でトライアスロン(triathlon)
の選手(せんしゅ)として活躍(かつやく)していましたから、いろいろなこと
を教(おし)えてくれます。例(たと)えば、ストレッチ(stretch)のやり方(かた)
や走(はし)り方(かた)です。そのおかげで、けがをすることもなく、去年
(きょねん)よりずっと速(はや)く走(はし)れるようになりました。

朝(あさ)の日(ひ)を見(み)ながら走(はし)るのは、
とても気持(きも)ちがいいです。

それに、ルンピニー公園(こうえん)にはたくさんの人(ひと)
や動物(どうぶつ)もいますから、

おもしろいです。一番驚(いちばんおどろ)いたのは「大(おお)
とかげ」です。体(からだ)がとても

大(おお)きくて、びっくりしました。日本(にほん)
では見(み)たことがありません。

今年(ことし)はタイで行(おこな)われるマラソン大会(たいかい)
に参加(さんか)したいと思(おも)っています。

皆(みな)さんの中(なか)に興味(きょうみ)がある人(ひと)
がいたら、声(こえ)をかけてくださいね。

一緒(いっしょ)に走(はし)りましょう。

(書(か)いた人(ひと):山田綾希子(やまだあきこ))

 

วาเซดะศรีราชา จัดนิทรรศการ”ภาพประทับใจในวัยวาน” ในวาระครบรอบชาตกาล 99 ปี ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์

ศูนย์วัฒนธรรมนานาชาติวาเซดะ ศรีราชา ร่วมกับ สถาบันปรีดี  พนมยงค์
ขอเชิญชมการแสดงนิทรรศการ

+ + + ภาพประทับใจในวัยวาน + + +
ในวาระครบรอบชาตกาล 99 ปี ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์

ระหว่างวันที่ 13 มีนาคม – 30 เมษายน 2554
ณ  Activities Hall  ศูนย์วัฒนธรรมนานาชาติวาเซดะ ศรีราชา จ.ชลบุรี

“ ภาพประทับใจในวัยวาน เป็นการเชื้อเชิญให้บุคคลต่างๆ ตั้งแต่อาวุโสไปจนถึงคนรุ่นใหม่
ให้ส่งภาพถ่ายหรือสิ่งของในความทรงจำ ที่เปี่ยมไปด้วยความหมายของตนเอง พร้อมกับ
เขียนข้อความเล่าเรื่องความเล่าเรื่องความประทับใจในสิ่งนั้น เพื่อนำมาจัดแสดงนิทรรศการ
ให้เห็นเรื่องราวแม้เป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยที่ผ่านเข้ามากระทบในชีวิต อาจแฝงไปด้วยคุณค่า
หากเราไม่มองผ่านเลย …  ”

นิทรรศการสิ่งของและภาพถ่ายที่เกี่ยวพันกับความรู้สึกของเขาและเธอ

เนาวรัตน์               พงษ์ไพบูลย์
ชมัยภร                  แสงกระจ่าง

แสงดาว                 ศรัทธามั่น
สุโรจนา                 เศรษฐบุตร
โดม                        สุขวงศ์
จิรยุทธ์                   สินธุพันธ์
จักรกฤษณ์             สิริริน
ถิรนันท์                 อนวัชศิริวงศ์
จิรยุทธ์                   สินธุพันธุ์
ประภัสสร             จันทร์สถิตพร
ชลิดา                      เอื้อบำรุงจิตร
สัณห์ชัย                 โชติรสเศรณี
ปานรัตน์               กริชชาญชัย
สุมณฑา                 สวนผลรัตน์
ณัฏฐพล                 เกาบุญชู
ภาวิณี                     สมรรคบุตร
นิกร                        แซ่ตั้ง
คานธี                     อนันตกาญจน์
มินตา                     รณปฤณ
กวินธร                   แสงสาคร
นานา                     เดกิ้น
อรอนงค์                ไทยศรีวงศ์
นพพันธ์                 บุญใหญ่
รัชชัย                     รุจิวิพัฒน์
ณัฐพล                    คุ้มเมธา
ทองเกลือ               ทองแท้
ปวิตร                      มหาสารินันทน์
เดชา                       รินทพล
นงค์ลักษณ์            เหล่าวอ
สายฟ้า                   ตันธนา
ยุทธนา                   จังอินทร์
วศิน                        มิตรสุวรรณ
จีรณัทย์                  เจียรกุล
สาโรจน์                 เผือกสำลี
สุรศักดิ์                   พันธุ์บุตร
สินธุ์สวัสดิ์            ยอดบางเตย
ร่วมด้วย อาจารย์และนักเรียน โรงเรียนสอนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นวาเซดะ